วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.


➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ

          👉   ประสบการณ์สำคัญ    การเล่น  ➡  พัฒนาการ 
           👧  ในการจัดประสบการ์ที่สำคัญครูควรเลือกเนื้อหาให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย เพราะพัฒนาการทำให้รู้ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง 
             
           👧 เด็กจะต้องมีประสบการณ์และเนื้อหา นั่นก็คือการลงมือกระทำผ่านประสบการณ์ทั้ง 5 คือ  การเล่น และการเล่น คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก เมื่อเด็กได้เล่นเด็กจะเกิดการเรียนรู้  (การจัดประสบการณ์สำคัญผ่านการเล่นั้น สอดล้องกับพัฒนาการทางสมอง)
             
           👧 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
1.ขั้นซึมซับ(assimilation) : เด็กได้รับประสบการณ์และเก็บสะสมไว้ในสมอง (ประสบการณ์เดิม)
   เช่น เด็กเล่นตุ๊กตาแมว 
2.ขั้นรับรู้(acKnowledge) : เด็กได้รับประสบการณ์ใหม่เข้ามา 
   เช่น เด็กเข้าไปเล่นกับแมวจริง แล้วโดนแมวข่วน (เด็กรับรู้ว่าตุ๊กตาแมวต่างจากแมวจริง)
3.ขั้นปรับโครงสร้าง(accommodation) : สมองของเด็กเกิดการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันอย่างเป็นระบบจึงเกิดเป็นความรู้ใหม่ 
   เช่น เมื่อโดนแมวข่วนแล้วเด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (เกิดการเรียนรู้)

          👧 การเลือกเนื้อหาให้สอดคล้องกับพัฒนาการและประสบการณ์สำคัญออกแบบให้สอดคล้องกับวิธีการที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

" ตัวช่วยในการออกแบบ "
1. รูปแบบการสอน  แผนการทำงานเกี่ยวกับการสอนที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยวางแผนการจัดองค์ประกอบและงานเกี่ยวกับการสอน อย่างมีจุดหมายที่เฉพาะเจาะจงที่จะให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง 
2. วิธีการสอน วิธีการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน

ปฏิทินสอนเด็กเรื่องอะไรบ้าง ? 
1. การนับจำนวน (นับเพิ่มทีละ 1 ตัวเลขตัวสุดท้ายคือจำนวนทั้งหมด) 
2. การนับจำนวนตามลำดับ น้อย  → มาก
3. เรื่องของเวลา (วันนี้ พรุ่งนี้ เมื่อวานนี้)
4. วันแรกของสัปดาห์  กลางสัปดาห์  วันสุดท้ายของสัปดาห์ 
(อาทิตย์ - เสาร์ จำนวนระยะทาง 2 ข้างที่เท่ากัน)
5. เตือนความจำ วันสำคัญต่างๆ 
( วันแม่ วันพ่อ วันพระ วันลอยกระทง วันสงกรานต์ )
6. บอกสภาพอากาศ



                   Vacabulary  
                         1. ซึมซับ(assimilation)
                         2. รับรู้(acKnowledge)
                         3. ปรับโครงสร้าง(accommodation)
                         4. รูปแบบการสอน(Teaching Model)
                         5. วิธีการสอน(Teaching methods)



เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

                          เพลงสวัสดีคุณครู                                  
สวัสดีคุณครูที่รัก                   หนูจะตั้งใจอ่านเขียน 
ยามเช้าเรามาโรงเรียน (ซ้า)   หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย 

                           เพลง ไปโรงเรียน                         
ตื่นเช้า แปรงฟัน ล้างหน้า      อาบน้ำ แล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว            หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ             ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
ลันล้า ลันลา ลันหล่า หลั่นลันลา หลั่นลา ลันลา

                      เพลง 1 ปี มี 12 เดือน                                      
1 ปี นั้นมี 12 เดือน
อย่าลืมเลือน จำไว้ให้มั่น 
1 สัปดาห์ นั้นมี 7 วัน ...
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์        

                                    
                                                          เพลง ล้างมือ                    
                                     ล้างมือเสียก่อน   
                                     ก่อนจะกินอะไร
                                     ล้างมือเข้าไว้     
                                     เราปลอดภัยสะอาด
                                     ล้างมือเสียก่อน  ล้างมือเสียก่อน  ล้างมือเสียก่อน



                                                  เพลงอาหาร                       
                          อาหารสุกๆ  ผักสะอาด  ฉันไม่พลาด  กินจนอิ่ม
                          หน้าตาแย้มยิ้ม  กินให้อิ่ม  กินข้าวจนหมด

                        เพลงมากินข้าวสิ                
    มากินข้าวสิ  ๆ   กับดีดี ๆ
    มีทั้งแกงและต้มยำ ๆ (ซ้ำ) (เปลี่ยนชื่ออาหารได้)
    อำ  อ่ำ  อำ   อำ  อ่ำ  อำ

  

                 เพลงแปรงฟัน                  
แปรงซิแปรง แปรงฟัน 
ฟันหนูสวยสะอาดดี
แปรงขึ้นแปรงลงทุกซี่
สะอาดดีเมื่อหนูแปรงฟัน
                     
           เพลงสวดมนต์            
นั่งขัดสมาสให้ดี
สองมือวางทับกันทันที
หลับตาตั้งตัวตรงซิ
ตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ
พุทธโท  ๆ   ๆ                                                   เพลงลาก่อน         
          ลาแล้ว  ลาก่อน
          หนูรักคุณครู
          คิดถึงคุณครู
          ลาแล้ว  ลาก่อน
          สวัสดีคุณครู



➤ ภาพบรรยากาศในการเรียน


คัดลายมือ ก - ฮ  ครั้งที่ 1







➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
     - เข้าเรียนตรงเวลา
     - จดบันทึกในการเรียน
     - ได้ร้องเพลง มีความสนุกสนาน และได้ฝึกคิดอยู่ตลอดเวลาในการตอบคำถาม
     - นำคำแนะนำมาปรับใช้ในการทำงาน

Evalaute frieads (เพื่อน)
     - เข้าเรียนตรงเวลา
     - จดบันทึกในการเรียน
     - ร่วมกันร้องเพลง และตอบคำถาม

Evalaute teacher (อาจารย์)
     - สอนเนื้อหาได้อย่างละเอียด 
     - อาจารย์สอนเพลงทำนองใหม่ๆ ให้นักศึกษานำไปปรับใช้ และสอนเทคนิคต่างๆ



วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.


➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ

                              สัปดาห์แรกของการเรียนอาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับกฎกติกาในห้องเรียน รายละเอียดต่างๆในการเรียน ใน มคอ.3 นอกจากนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานให้กับนักศึกษา ให้สร้าง blogger ของวิชานี้ ไปศึกษาหาตัวอย่างการสอนเด็กปฐมวัยรูปแบบต่างๆ เช่น การเรียนรู้แบบไฮสโคป / การเรียนรู้ตามแนวมอนเตสซอรี่ / การสอนภาษาธรรมชาติ / การสอนโดยใช้นิทานเป็นฐาน เป็นต้น เพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาและการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเป็นความรู้แก่เยาวชนทุกคนที่สนใจศึกษา นอกจากนี้อาจารย์ได้ชี้แจงงานกลุ่มให้กับนักศึกษาได้เตรียมตัวไว้ล่วงหน้า เพราะวิชานี้นอกจากจะได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาการแล้วยังได้ลงมือปฏิบัติจริง และได้ประสบการณ์จริงๆ ในการนำไปใช้บริหารชั้นเรียนอนุบาลได้ในภายภาคหน้า  

                     ➤ งานที่ปฏิบัติในห้องเรียน
                          อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5 คน ตามเซก และเขียนแผนกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนที่เราได้ไปฝึกสังเกต ในแต่ละวันของ 1สัปดาห์ 


" โรงเรียนเกษมพิทยา "



ภาพบรรยากาศในห้องเรียน




➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
     - เข้าเรียนตรงเวลา
     - จดบันทึกในการเรียน
     - เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์สอน/มอบหมายให้ทำ

Evalaute frieads (เพื่อน)
     - จดบันทึกในขณะฟังอาจารย์
     - พูดคุยตอบคำถาม

Evalaute teacher (อาจารย์)
     - อาจารย์พูดคุยถามไถ่นักศึกษาที่ได้ผ่านการฝึกสังเกตการสอนมาจากโรงเรียนต่างๆ
     - อธิบายรายละเอียดในการเรียนให้กับนักศึกษาได้เข้าใจ
     - มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง



.......................................
.......................................

My name is Natcha Boonthong.
Nickname GAM
Student ID 5911202074  No.22
Studying for a 4rd year bachelor's degree
Faculty of Education
Early Childhood Education
Chandrakasem Rajabhat University
course Learning Provision in Early Childhood Education
Group 101



ฉันชื่อ ณัฐชา บุญทอง
ชื่อเล่น แก้ม
รหัสนักศึกษา 5911202074  เลขที่ 21
กำลังศึกษา ปริญญาตรีชั้นปีที่ 4
คณะศึกษาศาสตร์
สาขาการศึกษาปฐมวัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
รายวิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
กลุ่ม 101



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.30 น. ➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ  ว...