วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

⇨  ⇨ ⇨ เรียนชดเชยในวันจันทร์ ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2562 
ของวันจันทร์ที่ 12 ซึ่งเป็นวันแม่แห่งชาติ

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ 
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอนวัตกรรมการสอน 


จากการนำเสนอแต่ละกลุ่มสรุปได้ดังนี้

1.การสอนแบบไฮสโคป
คนแรกที่คิดขึ้นมาคือ Prof. Dr.David Weikart  
ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเพียเจต์ (Piaget)  โดยครูจะเป็นผู้เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ให้กับเด็กเพื่อให้เด็กกระทำหรือเล่น และวางแผนการทำงานด้วยตนเอง เมื่อเด็กได้กระทำตามแผนที่วางไว้ทำให้เด็กได้ทบทวนผลงานที่ตนเองทำร่วมกับเพื่อนๆ
ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ
1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ ด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เด็กจะได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน (Review) เป็นขั้นทบทวนว่าผลงานเด็กว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
2. การสอนแบบโครงการ Project Approach
   เป็นการสอนให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 3 ระยะ คือ 
▶️ ระยะที่ 1   เด็กเลือกเรื่องที่สนใจและอยากเรียนรู้ เด็กเล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องนั้น และตั้งคำถามที่อยากรู้ เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ 
▶️ ระยะที่ 2  ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ เป็นผู้สนับสนุนเพื่อให้เด็กสามารถหาคำตอบได้ และหลังจากนั้นก็แสดงข้อมมูลในรูปแบบแผนภูมิหรือกราฟ
▶️ ระยะที่ 3 เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่ตั้งไว้ได้ และได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมว่าตรงกันหรือไม่ เพื่อเป็นการทบทวนผลงาน และสรุปโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ

3. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
แนวคิดของ Dr.Maria Montessori
หัวใจที่สำคัญคือ เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเรียนรู้ได้ดีจากการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี
เด็กจะได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการใช้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้เด็กเข้าใจง่าย สิ่งสำคัญของเรียนแนวมอนเตสซอรี่ คือ มือ เพราะเด็กจะสามารถเรียนรู้ทุกอย่างผ่านมือของตัวเอง
กิจกรรมมอนเตสซอรี่ มี 3 กลุ่ม
▶️ กลุ่มประสบการณ์ชีวิต ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย มีสมาธิ เป็นตัวของตัวเอง และได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก
▶️ กลุ่มประสาทสัมผัส ฝึกให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม
▶️ กลุ่มวิชาการ (คณิตศาสตร์และภาษา) ปูพื้นฐานความรู้เรื่องจำนวนตัวเลขการอ่านและการเขียน เด็กจะได้เรียนรู้อย่าเป็นขั้นตอนจากรูปธรรมสู่นามธรรม โดยใช้อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่ เป็นสื่อ


4. การสอนทักษะ EF  Executive Functions
เป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF คืออายุ 4 - 6 ขวบ เพราะสมองส่วนหน้าพัฒนาได้มากที่สุด
    ▶️ ทักษะ EF มีทั้งหมด 9 ด้าน โดยแบ่งออกเป็นทักษะพื้นฐาน (Basic) 3 ด้าน และทักษะสูง (Advance) 6 ด้าน ได้แก่
ทักษะพื้นฐาน (Basic)
1) Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ
2) Inhibitory Control (ยั้งคิด ไตร่ตรอง) คือ ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรอง สามารถควบคุมความต้องการ หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูดได้ 
3) Shifting หรือ Cognitive Flexibility (ยืดหยุ่นความคิด) คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นทางความคิด ร่วมแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน รู้จักพลิกแพลงและปรับตัว เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ 
ทักษะสูง (Advance)
4) Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่วอกแวก รู้จักการทำงานให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป
5) Emotional Control (ควบคุมอารมณ์) คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ตนเองไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายเกินไป รู้จักแสดงอารมณ์อย่างถูกวิธี
6) Self - Monitoring (ติดตาม ประเมินตนเอง) คือ การประเมินตนเองเพื่อหาจุดบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น รู้จักไตร่ตรองว่าตัวเองทำอะไร รู้ว่าตัวเองทำอะไร และรู้ว่าใกล้จะเสร็จหรือเรียบร้อยแล้ว
7) Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ลงมือทำทันที ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8) Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ) คือ การวางแผนจัดการตนเองอย่างเป็นขั้นตอน ดำเนินการตั้งแต่วางเป้าหมาย มองเห็นภาพรวม รู้จักจัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ ดำเนินการ และประเมินผล
9) Goal - Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย) คือ การวางเป้าหมายที่ชัดเจน มีความพากเพียรและความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมาย รู้จักฝ่าฟันอุปสรรค หากล้มต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.30 น. ➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ  ว...