วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 18  พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
      กรวยแห่งการเรียนรู้ หรือ กรวยประสบการณ์
ของเอดการ์เดล คือ การเรียนรู้ที่เกิดผล
จากรูป
- อ่านอย่างเดียว 10 % 
- ฟัง 20 
- ดู   30 
- ดูและฟัง  50 
- พูด  70 
- พูดและทำ  90 

         กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวกว่า 

            คนเราจะจำได้ดีเมื่อลงมือกระทำ Active Learning ➝ กระบวนการทำงานของสมอง คือ เกิดการซึมซับ เมื่อสมองรับเอาข้อมูลไป เกิดการทับซ้อนระหว่างความรู้ใหม่ และความรู้เดิม และปรับโครงสร้างใหม่ ทำให้สมองเกิดความจำแล้วนำไปใช้งาน สอดคล้องกับการเรียนรู้ในทักษะ EF

     ⏩ ทักษะ EF
Executive Functions มีทั้งหมด 9 ด้าน 
1) Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) 
ความจำและประสบการณ์เชิงบวกส่งผลลให้เกิดการเรียนรู้
2) Inhibitory Control (ยั้งคิด ไตร่ตรอง) 
3) Shifting หรือ Cognitive Flexibility (ยืดหยุ่นความคิด) 
4) Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ)
5) Emotional Control (ควบคุมอารมณ์)
6) Self - Monitoring (ติดตาม ประเมินตนเอง) 
7) Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) 
8) Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ) 
9) Goal - Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย)

     ⏩การสอนที่สอดคล้องระหว่างทักษะ EF กับ ไฮสโคป
   
1. ความจำ เพื่อใช้งาน  การมีสื่อที่หลากหลายโดยครูเป็นผู้กระตุ้นและเตรียมการ
2. คิดไตรตรอง   การวางแผน Plan
3. คิดยืดหยุ่น    กิจกรรมกลุ่มใหญ่ - กลุ่มย่อย เล่นตามมุม
4. จดจ่อใส่ใจ    การลงมือทำกิจกรรม Do
5. ควบคุมอารมณ์    การมีปฏิสัมพันธ์กันในกิจวัตร / กิจกรรม
6. การประเมินตนเอง   การทบทวน หรือนำเสนองาน Reviwe
7. การริเริ่มลงมือทำ   การปฏิบัติ Do
8. การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ ➤ Plan
9. มุ่งเป้าหมาย    Plan  - Do -  Reviwe

        ⏩ หากเด็กแย่งของกัน ครูจะแก้ปัญหาเด็กแบบไฮสโคปได้อย่างไร
ครูต้องสงบนิ่งก่อน แล้วถามเด็กว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าเห็นว่ามีความอันตรายให้หยุดสิ่งนั้นก่อน ครูพูดให้เด็กรู้ว่าครูรับรู้ถึงความรู้สึกเขา ถามเด็ก และเสนอวิธีแก้ปัญหา


กิจกรรม เล่าสู่กันฟังเพลงเก็บเด็ก

เพลงนั่งตัวตรง 

นั่งตัวตรงๆ  ก้มหัวลง  ตบมือแปะ ครู ______  อยู่ไหน หันหน้าไปทางนั้นแหละ
( เติมชื่อครูหรือเด็ก เพลงปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม )

เพลงยายฉิม
ฝนตกหยิมๆ  ยายฉิมไปตลาด  มือซ้ายถือปลา  มือขวาถือผัก  พอถึงที่พักวางผักวางปลา
 ( ฝึกท่าทาง และไหวพริบ )

เพลง หลับตา
หลับตาเสีย  อ่อนเพลียทั้งวัน  นอนหลับแล้วฝันเห็นเทวดา 
มาร่าย มารำ งามขำโสภา  พอตื่นขึ้นมาเทวดาไม่มี
 ( ฝึกสมาธิและให้เด็กสงบนิ่ง )


➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
     แต่งกายสุภาพเรียบร้อย จดบันทึกในขณะที่ฟัง ได้เรียนรู้กระบวนการสอนและทักษะการแต่งเพลง

Evalaute frieads (เพื่อน)
    เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงเพราะ และนำเพลงใหม่ๆมาแลกเปลี่ยนกัน
   
Evalaute teacher (อาจารย์)
    อาจารย์สอนเน้นการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และให้นักศึกษารู้จักคิดเป็น สอนเป็น 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.30 น. ➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ  ว...