วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ 
    หัวใจ ❤️ ของคนเป็นครูต้องออกแบบการจัดประสบการณ์ได้

กิจกรรมนำเสนอวิธีการสอนรูปแบบต่างๆ
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอวิธีการสอนที่ได้จับฉลากไว้  ซึ่งอาจารย์ได้ดูพร้อมกับแนะนำหรือปรับแก้ ขั้นตอนการสอน  วิธีการสอน( การพูด ) ให้มีความเข้าใจ กระชับและชัดเจนมากขึ้น


👩การนำเสนอ : กลุ่มที่ 1 วิธีการสอนแบบ ไฮสโคป (High Scope)



กลุ่มดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มแรก 
          👉ในการนำเสนอตัวอย่างการสอนแบบไฮสโคป ได้แสดงบทบาทสมมติโดยยกวิธีการสอนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และให้ตัวแทนเพื่อนๆออกมาเป็นเด็กๆ โดยให้เด็กๆวาดรูป หน่วยตัวเราตามจินตนาการ
ยึดหลักปฏิบัติ 3  ประการ คือ
1.การวางแผน (Plan) การวางแผนการทำงาน
2.การปฏิบัติ (Do) การลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  
3.การทบทวน (Review) การทบทวนว่าเด็กได้ทำงานตามแผนที่วางไว้หรือไม่ โดยให้เด็กออกมานำเสนอผลงานศิลปะและเล่าสิ่งที่วาด ครูและเด็กถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่วาด
          หลังจากนั้นได้สรุปวิธีการสอนแบบไฮสโคป โดยใช้แผ่นชาร์จ 
❤สรุปได้ว่า การที่เด็กได้ลงมือทำงานหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ  จะทำให้เด็กสนุกกับการทำงาน ได้ทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข
👉สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข  
- การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการแสดงบทบาทสมมติให้สามารถเห็นภาพได้ชัดเจน
การนำเสนอวิธีการสอนให้เป็นขั้นตอนที่จัดเจนมากขึ้น 
- การสรุปรายละเอียดให้สั้นกระชับ เข้าใจง่าย 
- เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสรุปเนื้อหาให้น่าสนใจ โดยใช้ powerpoint


👩การนำเสนอ : กลุ่มที่ 2 วิธีการสอนแบบ ไฮสโคป (High Scope)



👉การแสดงบทบาทสมมติวิธีการสอนแบบไฮสโคป โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์👈  
ความคิดเห็น : แสดงบทบาทสมมติได้ดี มีขั้นตอนที่จัดเจน มีการสรุปความรู้เป็นขั้นเป็นตอนระหว่าง  การสอน และมีวัสดุอุปกรณ์ในการแสดง

👉สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข  
การกำหนดกิจกรรมศิลปะพื้นฐาน ให้มี 3 กิจกรรม 
- กิจกรรมศิลปะพิเศษ การฉีกปะควรให้เด็กได้ลงมือวาดเอง เพราะการมีแบบฟอร์มหรือรูปกำกับให้จะทำให้เด็กขาดความคิดในการทำงาน
- การมีเครื่องมือประเมินผลกิจกรรม ในขั้นตอนวิธีการสอน



วิธีการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ➝ เป้าหมายที่สำคัญ คือ การคิดอย่างเป็นระบบ มีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน (การกำหนดเป้าหมาย  ลำดับเวลา ลงมือปฏิบัติ และสะท้อนความคิด)

 สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ รูปทรง ลำดับเวลา ภาษา สีต่างๆ และวิทยาศาสตร์ ได้อีกด้วย

👩การนำเสนอ : กลุ่มที่ 3 วิธีการสอนแบบ Project Approach หรือ โครงการ




👉การแสดงบทบาทสมมติ การสอนโปรเจคแอพโพส เรื่องช้าง👈
ได้ถามเด็กว่า อยากเรียนรู้เรื่องอะไร  / ให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับช้าง / ให้เด็กทำกิจกรรมโดยวาดภาพประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับช้าง / ให้เด็กถามคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับช้าง / หลังจากนั้นเชิญ
ผู้ปกครองมาให้ความรู้เกี่ยวกับช้าง 


👉สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข 
ขั้นตอนวิธีการสอนแบบ Project Approach ที่ชัดเจน จะมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ  ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ  ระยะที่ 3 สรุปโครงการ
- วัสดุอุปกรณ์ในการสอน


❤สรุปวิธีการสอนแบบ Project Approach 
              เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เด็กสนใจในโลกแห่งความเป็นจริงและพบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กๆสามารถศึกษาได้โดยง่าย ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และในชุมชน
การเรียนรู้แบบ Project Approach มี 3 ระยะ 
ระยะที่ เริ่มต้นโครงการ เด็กจะนำประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับหัวข้อมานำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันคิดหาคำตอบเกี่ยวกับประเด็นต่างๆที่สนใจ ระยะนี้ถือเป็นพื้นฐานของความเข้าใจที่สำคัญในการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป                              
ระยะที่ พัฒนาโครงการ ระยะที่เป็นหัวใจของโครงการ ที่เด็กได้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อในเรื่องที่สนใจ และนำมาเสนอความรู้ในรูปแบบของกิจกรรมและผลงานต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการเรียนรู้
 ระยะที่ สรุปโครงการ เป็นระยะที่สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำเสนอผลงานต่างๆ ที่ได้ทำในโครงการเพื่อให้ผู้ปกครอง ครู เพื่อน ผู้สนใจได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ทำ 


👩การนำเสนอ : กลุ่มที่ 4วิธีการสอนแบบ STEM



👉การแสดงบทบาทสมมติ การสอนSTEM โดยการทดลอง👈
โดยให้เด็กๆ นั่งเป็นกลุ่ม
 ครูมีภาชนะใส่น้ำ = เป็นทะเล 
 มีดินน้ำมัน = ทำเป็นเรือ 
 มีเหรียญ = เป็นสินค้า
และให้เด็กลองคิดกันว่า จะทำอย่างไรให้เรือบรรทุกสินค้าได้มากที่สุดโดยไม่จมลงไป โดยใส่เหรียญลงไปเรื่อยๆ จนเต็ม เมื่อเรือจม เป็นการฝึกให้เด็กคิดแก้ปัญหา และหาวิธีใหม่ในการทำให้เรือบรรทุกสินค้าได้มากโดยไม่จม  คุณครูได้เพิ่มวัสดุเข้ามา คือ หลอด แล้วให้หาวิธีใหม่ เด็กใช้หลอดในการวางบนน้ำและวางเรือลง เมื่อใส่เหรียญจึงทำให้เรือไม่จม 
ตัวอย่างการสอน เช่น หน่วยผลไม้
ขั้นที่ 1 ให้เด็กๆออกแบบตะกร้าใส่ผลไม้
ขั้นที่ 2 ให้เด็กๆ ทำตามแบบที่ออกแบบ
ขั้นที่ 3 ลองเอาผลไม้ใส่ตะกร้าที่ออกแบบ หากใส่ได้ไม่หมด ก็ออกหาวิธีการทำใหม่


สรุปวิธีการสอนแบบ STEM
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา  
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา                   
ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา  
ขั้นที่ 5  ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขปัญหา 
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือ ชิ้นงาน


➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
       - ตั้งใจนำเสนอ แต่อาจจะบกพร่องในการทำงาน การจัดเตรียมการนำเสนอให้ดีกว่านี้ นำคำที่อาจารย์สอนหรือแนะนำมาใช้
    
Evalaute frieads (เพื่อน)
     - มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และเพื่อนๆบางกลุ่มออกมานำเสนอได้ดีมาก

Evalaute teacher (อาจารย์)
     - อาจารย์พยายามฝึกให้นักศึกษาสอนเป็น และเข้าใจวิธีการสอนแบบลึกซึ้ง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.30 น. ➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ  ว...