วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาดูแผนการจัดประสบการณ์ของรุ่นพี่แต่ละโรงเรียน โดยให้สังเกตและพิจารณาดู กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หาข้อผิดพลาดและ ศึกษาวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์  


แนวคิดหลักของแผนการจัดประสบการณ์  ⇾  เนื้อหาที่ครอบคลุม
   👉 ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
        1. ดูหลักสูตรแล้วเลือกเรื่องที่จะสอน ( เรื่องใกล้ตัวเด็ก )
        2. เมื่อได้เรื่องแล้ว วิเคราะห์หัวเรื่องโดยใช้ Mind map เป็นเครื่องมือ
        3.จัดลำดับความสำคัญ ก่อน - หลัง
        4. ออกแบบการจัดประสบการณ์
        5. ตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย
        6. สาระการเรียนรู้ 2 ส่วน 
6.1  ประสบการณ์สำคัญ 4 ด้าน ( ร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา )
6.2  สาระที่ควรรู้ คือเรื่องที่จะสอน กิจกรรมต้อใสัมพันธ์กับเนื้อหา สอดคล้องกันแบบองค์รวม holistic Learning style และตอบสนองความฉลาด 8 ด้าน ออกมาเป็น 6 กิจกรรมหลัก

♥️♥️ จุดเน้นของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ♥️♥️
- การเคลื่อนไหวร่างกายตามแบบต่างๆ 
- การคิดอย่างเป็นระบบ
- การเล่นเป็นกลุ่ม (เด็กอนุบาล 3 มีพัฒนาการทางสังคมมากขึ้น)


👉  กิจกรรมกลางแจ้ง



1. การเล่นแบบเบ็ดเตล็ด คือ เกมทั่วไป ได้แก่ เกมการละเล่นของไทย เช่น รีรีข้าวสาร แม่งูเอ๋ย อีกาฟักไข่ มอญซ่อนผ้า เป็นต้น




2. การเล่นแบบผลัด  คือ เกมที่มีการเปลี่ยนคนเล่น เล่นแบบเดียวกัน มีกติกา มีแพ้ชนะ เช่น วิ่งเปรี้ยว รับส่งบอล เป็นต้น

♥️♥️ การเล่นถือเป็นประสบการณ์สำคัญของเด็ก ♥️♥️


👉  เกมการศึกษา (มีหลายประเภท)
1. เกมลอตโต้ 
2. เกมจับคู่
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมโดมิโน่
5. เกมเรียงลำดับ
6. เกมการต่อปลาย
7. เกมสังเกตรายละเอียดในภาพ
8. เกมความสัมพันธ์
9. เกมจัดหมวดหมู่
10. เกมอนุกรม 
11. เกมพื้นฐานการบวก
12. เกมความสัมพันธ์ 2 แกน

กิจกรรมในห้องเรียน
กิจกรรมที่ 1 ศิลปะแบบร่วมมือ
       อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เป็น 3 กลุ่ม ช่วยกันออกแบบการสอนเกี่ยวกับ แหล่งน้ำ 
ให้มีลักษณะเด่น แล้วให้กลุ่มเพื่อนๆ ช่วยกันทาย ว่าเป็นแหล่งน้ำที่ไหน

สะพานโกลเด้นเกตที่อ่าวซานฟานซิสโก

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

หากนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
1. ต้องวาดแหล่งน้ำที่ใกล้ตัวเด็ก
2. สอนเรื่องแหล่งน้ำ มี 2 แบบ 
2.1 แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เขื่อน ฝาย  สระ เป็นต้น
2.2 แหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ทะเล น้ำตก  แม่น้ำ คลอง เป็นต้น
3. ที่มาของแหล่งน้ำ  คือ น้ำเค็ม และ น้ำจืด

การตั้งเกณฑ์ในการกำหนดกิจกรรม แหล่งน้ำ 
1. แหล่งน้ำมีหลายชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกัน  ได้แก่  แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น 
 แหล่งน้ำตามธรรมชาติ  น้ำเค็ม  น้ำจืด
2. ขั้นนำในการสอน สามารถใช้เพลง คำคล้องจอง เกม ปริศนาคำทาย 
นิทาน(สามารถใช้ไปจนถึงขั้นสอนได้)
3. คำถามสามารถอยู่ในทุกๆจุดของกิจกรรม เช่น เด็กๆรู้จักแหล่งน้ำใดบ้าง
4.มีภาพแหล่งน้ำต่างๆ ให้เด็กดู 
5.ให้เด็กวาดแหล่งน้ำแล้วให้เพื่อนๆทาย

แม่น้ำชีจังหวัดชัยภูมิ

กิจกรรมที่ 2 ออกแบบขาตั้งที่สูบน้ำ



 ▶️ อุปกรณ์ มี กระดาษหนังสือพิมพ์ กลุ่มละ 5 แผ่น ปากกาเมจิก 2 แท่ง กระดาษA4 1 แผ่น      
      และเทปกาวประมาณ 5 เซนติเมตร
      เป้าหมาย คือ มีความแข็งแรง รับน้ำหนักของหนังสือ และพานดอกไม้ได้
      กิจกรรมนี้ได้มีการบูรณาการเรียนการสอนแบบ STEM เข้ามาใช้ในการ  →  วางแผน  →   ออกแบบ   →  คิดวิเคราะห์    →  และสร้างนวัตกรรม

กิจกรรมที่ 3 ออกแบบสไลเดอร์

 

▶️ อุปกรณ์ มี หลอดหลากสี และลูกปิงปอง 
     เป้าหมาย คือ ส้รางสไลเดอร์ที่ยาวที่สุด และลูกปิงปองสามารถกลิ้งได้นานที่สุด
     กิจกรรมนี้มีการบูรณาการเรียนการสอนแบบ STEM เข้ามาใช้ในการ  →  วางแผน  →   ออกแบบ   →  คิดวิเคราะห์    →  และสร้างนวัตกรรม  เช่นเดียวกับกิจกรรมที่ 2 ข้างต้น

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

1.ด้านร่างกาย   ▶️ ได้ใช้กล้ามเนื้อมือได้คล่องแคล่ว ประสานสัมพันธ์กับตาและสมองในการคิด
2. ด้านอารมณ์ - จิตใจ    ▶️ ได้ความสนุกสนาน 
3. ด้านสังคม    ▶️ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน การร่วมมือกันและการทำงานเป็นกลุ่ม
4. ด้านสติปัญญา    ▶️ ได้ใช้สมองในการวางแผน คิดออกแบบ จินตนาการ และแก้ปัญหา

➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
       เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความกระตือรือร้น สนุกสนานในการทำกิจกรรม ได้เกิดความคิดหลากหลายในขณะทำกิจกรรมและสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ได้มีความกล้าแสดงออกในการออกแบบนวัตกรรม พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน

Evalaute frieads (เพื่อน)
   มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ดี มีความคิดหลากหลาย ช่วยกันสร้างนวัตกรรมเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ

Evalaute teacher (อาจารย์)
    อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาทำกิจกรรมกลุ่ม ให้มีส่วนร่วมและแสดงความคิดได้อย่างเต็มที่ผ่านตัวกิจกรรม เป็นการสอนแบบบูรณาการเป็นสิ่งที่ดีที่อาจารย์ได้นำมาสอนและอาจารย์มีความใจเย็นในการรอคอย ให้โอกาสในการคิดแก้ปัญหา และสรุปความรู้ให้เข้าใจมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.30 น. ➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ  ว...