วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้อาจารย์ได้เชิญ ผศ.ดร.กรรณิการ์  สุสม มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เรื่อง...สารนิทัศน์ 
และความรู้เกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รวมถึงเทคนิคในการใช้เพลงต่างๆ
👋  ก่อนเริ่มกิจกรรม
      อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนความคิดเห็น ในหัวข้อ " ครูที่ดีในความคิดของตนเอง ? " 
ในความคิดของฉัน ครูที่ดีต้อง
- ใจดี มีเมตตาต่อศิษย์
- มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และทักษะต่างๆ
- มีความยุติธรรม

   

รู้หรือไม่ว่า ? ผังกราฟฟิก คือ สารนิทัศน์แบบหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ

▶️ ความหมายของสารนิทัศน์   การเก็บหลักฐานข้อมูล ร่องรอยการทำงานของครู การเรียนรู้ของเด็ก เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ครูใช้เป็นเครื่องมือในการนำมาคิดไตร่ตรอง สะท้อนการคิด นำมาพัฒนาตนเองและนักเรียน
▶️ คุณค่าและความสำคัญ 
1. สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
2. สามารถสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง ( การให้เด็กลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 )
3. ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
5. เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนของครูและบทบาทของครู 

สารนิทัศน์จะสะท้อนการพูดของเด็กไม่เหมือนกัน ครูมีหน้าที่จัดกิจกรรมให้เด็กแสดงศักยภาพออกมา

▶️  สมรรถนะและศักยภาพ แตกต่างกัน
สมรรถนะ คือ Can do เด็กสามารถทำได้
ศักยภาพ คือ ความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวเด็ก ครูคือผู้กระตุ้น

▶️ รูปแบบการไตร่ตรองสารนิทัศน์  ( บุษบง ตันติวงศ์ )
1. หลักฐานการเรียนรู้ของเด็ก 
- แบบภาพรวม 
- แบบรายบุคคล เช่น ผลงานเด็ก บันทึกคำพูด ตารางพัฒนาการ
2. หลักฐานการสอนของครู

▶️ กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูโดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
2. การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ
3. ทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงวางแผน
4. การปฏิบัติสะท้อนความรู้ความเข้าใจ

▶️ กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตรตรองสารนิทัศน์
1. การเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. แบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
3. การนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. การประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่

▶️ ประเภทของสารนิทัศน์
1. บทสรุปโครงการ มี 3 ระยะ (โปรเจกต์แอพโพส)
2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก บันทึกพฤติกรรม (บันทึกสั้น)
3. พอร์ตฟอลิโอ ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการ
4. ผลงานเด็ก
     - รายบุคคล เช่น วาดภาพ
     - แบบกลุ่มใหญ่ 
5. การสะท้อนตนเอง






👋กิจกรรมเขียนสารนิทัศน์สะท้อนตนเอง
การเขียนสารนิทัศน์ คือ การส่งเสริมการคิดที่หลากหลาย










▶️ หลักการเขียนสารนิทัศน์ (สรุปได้ด้วยตนเอง) ดังนี้
- เขียนให้มีเนื้อหาครอบคลุม ใคร ทำอะไร ที่ไหน 
- มีจุดเริ่มต้นของการเขียน และสามารถขยายเนื้อหาต่อได้
- มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความรู้ สาระที่ได้รับ การทดลองสอน การยกตัวอย่าง และประสบการณ์ที่ได้รับ
- เขียนเป็นความเรียง ไม่เขียนเป็นข้อ
- บอกถึงความรู้สึกนึกคิด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
- บอกคุณค่า ประโยชน์และการนำไปใช้


▶️ บทบาทครูกับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด 
1. ใช้จิตวิทยา เช่น ให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดของเด็ก เข้าใจเด็กเป็นรายบุคคล มีความจริงใจต่อเด็ก ควรชมเชยเด็ก
2.  การคิดริเริ่มการจัดกิจกรรม เช่น ให้เด็กสังเกต ให้เด็กเล่นตามความสนใจ จัดกิจกรรมทางภาษา ศึกษานอกสถานที่
3.  การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก เช่น การทำงานร่วมกับเด็ก ทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก
4.  การใช้คำถามกับเด็ก 
     4.1 คำถามใช้ความคิดพื้นฐาน เช่น สังเกต บอกความหมาย ถามความจำ
     4.2 คำถามขยายความคิด เช่น ถามให้อธิบาย เปรียบเทียบ จำแนก 
ยกตัวอย่าง  ให้สรุป ให้ประเมินหรือตัดสินใจ 


▶️ ประเภทของทักษะการคิด  4 คิด
1. ทักษะการคิดพื้นฐาน หมายถึงทักษะการคิดสื่อความหมาย เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน
2. ทักษะการคิดทั่วไป / รวบยอด ได้แก่ การสังเกต จำแนกความแตกต่าง  หาลักษณะร่วม ระบุข้อความคิดรวบยอด การทดสอบก่อนนำไปใช้
3. ทักษะการคิดระดับสูง ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคาดคะเน พยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน และการประยุกต์ใช้ความรู้
4. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การเตรียมข้อมูล การเปิดตัว (ข้อมูลมาก) การเรียบเรียงความคิดต่างๆ การเลือกภาพหรือวิธีคิดแปลกใหม่

📎ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ➡️ คิดริเริ่ม ➡️ คิดยืดหยุ่น  
➡️ คิดคล่องแคล่ว ➡️ คิดละเอียดลออ 


พัฒนาการ การเล่นบล็อกของเด็ก มี 7 ขั้น
1. สำรวจ ถือไปมา  (2 - 3 ปี)
2. ใช้ไม้บล็อกต่อเป้นแนวตั้ง/ แนวนอน (3 ปี)
3. ต่อสะพาน (3 - 4 ปี)
4. ล้อมปิดกั้น (4 ปี)
5. สมมาตร (4 ปี)
6. สร้างสิ่งต่างๆ ให้ชื่อสิ่งที่สร้าง (4 - 5 ปี)
7. สร้างและเล่นบทบาทสมมติ เล่นร่วมกับเพื่อน ตัดสินใจว่าจะสร้างสิ่งใด มักสร้างสิ่งที่ตนเองคุ้นเคย 
(5 -6 ปี)

พัฒนาการการใช้กรรไกรของเด็ก
1. ตัดทีละนิด (2 - 3 ปี)
2. ตัด (3 ปี) บังคับกล้ามเนื้อมือ ตัดกระดาษขาดจากกันได้
3. ตัดตามแนวเส้น (3 - 4 ปี)
4. ตัดเส้นซิกแซก เส้นโค้ง (4 - 5) ปี ตัดซิกแซก คดโค้ง วงกลมได้
5. ตัดภาพ (5 - 6 ปี) ตัดภาพจากนิตยสาร ตามโครงร่างได้ อาจจะตัดหยุด - ตัดหยุด

👋 เทคนิคการใช้เพลง
- การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก เช่น สบสายตา  วาจาสร้างสรรค์
- เป็นการสื่อสารเชิงบวก

- เป็นการเตรียมพร้มก่อนเข้าบทเรียน

















➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีเป้าหมายในการเรียนและมีความเข้าใจในการเรียนสารนิทัศน์มากขึ้น ได้รู้จักการนำไปใช้ในการทำโปรเจกต์ และเทคนิคต่างๆ

Evalaute frieads (เพื่อน)
   เพื่อนมาเรียนไม่ครบ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ดี สนุกสนานเฮฮา มีความคิดหลากหลาย เพื่อนๆนำเสนอได้ดีและกล้าแสดงออก 

Evalaute teacher (อาจารย์)
    อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษาในการให้ความรู้เรื่องที่นักศึกษายังไม่เข้าใจและขาดตกบกพร่อง และให้ความสำคัญกับนักศึกษาเมื่อถึงเวลาออกฝึกสังเกต หรือฝึกสอน เพื่อนำไปใช้และมีความสามารถที่ไม่แพ้ใคร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.30 น. ➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ  ว...