วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ 
    หัวใจ ❤️ ของคนเป็นครูต้องออกแบบการจัดประสบการณ์ได้

กิจกรรมนำเสนอวิธีการสอนรูปแบบต่างๆ
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอวิธีการสอนที่ได้จับฉลากไว้  ซึ่งอาจารย์ได้ดูพร้อมกับแนะนำหรือปรับแก้ ขั้นตอนการสอน  วิธีการสอน( การพูด ) ให้มีความเข้าใจ กระชับและชัดเจนมากขึ้น


👩การนำเสนอ : กลุ่มที่ 1 วิธีการสอนแบบ ไฮสโคป (High Scope)



กลุ่มดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มแรก 
          👉ในการนำเสนอตัวอย่างการสอนแบบไฮสโคป ได้แสดงบทบาทสมมติโดยยกวิธีการสอนกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และให้ตัวแทนเพื่อนๆออกมาเป็นเด็กๆ โดยให้เด็กๆวาดรูป หน่วยตัวเราตามจินตนาการ
ยึดหลักปฏิบัติ 3  ประการ คือ
1.การวางแผน (Plan) การวางแผนการทำงาน
2.การปฏิบัติ (Do) การลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  
3.การทบทวน (Review) การทบทวนว่าเด็กได้ทำงานตามแผนที่วางไว้หรือไม่ โดยให้เด็กออกมานำเสนอผลงานศิลปะและเล่าสิ่งที่วาด ครูและเด็กถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่วาด
          หลังจากนั้นได้สรุปวิธีการสอนแบบไฮสโคป โดยใช้แผ่นชาร์จ 
❤สรุปได้ว่า การที่เด็กได้ลงมือทำงานหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ  จะทำให้เด็กสนุกกับการทำงาน ได้ทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข
👉สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข  
- การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการแสดงบทบาทสมมติให้สามารถเห็นภาพได้ชัดเจน
การนำเสนอวิธีการสอนให้เป็นขั้นตอนที่จัดเจนมากขึ้น 
- การสรุปรายละเอียดให้สั้นกระชับ เข้าใจง่าย 
- เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสรุปเนื้อหาให้น่าสนใจ โดยใช้ powerpoint


👩การนำเสนอ : กลุ่มที่ 2 วิธีการสอนแบบ ไฮสโคป (High Scope)



👉การแสดงบทบาทสมมติวิธีการสอนแบบไฮสโคป โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์👈  
ความคิดเห็น : แสดงบทบาทสมมติได้ดี มีขั้นตอนที่จัดเจน มีการสรุปความรู้เป็นขั้นเป็นตอนระหว่าง  การสอน และมีวัสดุอุปกรณ์ในการแสดง

👉สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข  
การกำหนดกิจกรรมศิลปะพื้นฐาน ให้มี 3 กิจกรรม 
- กิจกรรมศิลปะพิเศษ การฉีกปะควรให้เด็กได้ลงมือวาดเอง เพราะการมีแบบฟอร์มหรือรูปกำกับให้จะทำให้เด็กขาดความคิดในการทำงาน
- การมีเครื่องมือประเมินผลกิจกรรม ในขั้นตอนวิธีการสอน



วิธีการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ➝ เป้าหมายที่สำคัญ คือ การคิดอย่างเป็นระบบ มีการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน (การกำหนดเป้าหมาย  ลำดับเวลา ลงมือปฏิบัติ และสะท้อนความคิด)

 สามารถบูรณาการคณิตศาสตร์ รูปทรง ลำดับเวลา ภาษา สีต่างๆ และวิทยาศาสตร์ ได้อีกด้วย

👩การนำเสนอ : กลุ่มที่ 3 วิธีการสอนแบบ Project Approach หรือ โครงการ




👉การแสดงบทบาทสมมติ การสอนโปรเจคแอพโพส เรื่องช้าง👈
ได้ถามเด็กว่า อยากเรียนรู้เรื่องอะไร  / ให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับช้าง / ให้เด็กทำกิจกรรมโดยวาดภาพประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับช้าง / ให้เด็กถามคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับช้าง / หลังจากนั้นเชิญ
ผู้ปกครองมาให้ความรู้เกี่ยวกับช้าง 


👉สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข 
ขั้นตอนวิธีการสอนแบบ Project Approach ที่ชัดเจน จะมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ  ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ  ระยะที่ 3 สรุปโครงการ
- วัสดุอุปกรณ์ในการสอน


❤สรุปวิธีการสอนแบบ Project Approach 
              เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เด็กสนใจในโลกแห่งความเป็นจริงและพบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กๆสามารถศึกษาได้โดยง่าย ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และในชุมชน
การเรียนรู้แบบ Project Approach มี 3 ระยะ 
ระยะที่ เริ่มต้นโครงการ เด็กจะนำประสบการณ์ที่มีเกี่ยวกับหัวข้อมานำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันคิดหาคำตอบเกี่ยวกับประเด็นต่างๆที่สนใจ ระยะนี้ถือเป็นพื้นฐานของความเข้าใจที่สำคัญในการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป                              
ระยะที่ พัฒนาโครงการ ระยะที่เป็นหัวใจของโครงการ ที่เด็กได้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อในเรื่องที่สนใจ และนำมาเสนอความรู้ในรูปแบบของกิจกรรมและผลงานต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการเรียนรู้
 ระยะที่ สรุปโครงการ เป็นระยะที่สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำเสนอผลงานต่างๆ ที่ได้ทำในโครงการเพื่อให้ผู้ปกครอง ครู เพื่อน ผู้สนใจได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ทำ 


👩การนำเสนอ : กลุ่มที่ 4วิธีการสอนแบบ STEM



👉การแสดงบทบาทสมมติ การสอนSTEM โดยการทดลอง👈
โดยให้เด็กๆ นั่งเป็นกลุ่ม
 ครูมีภาชนะใส่น้ำ = เป็นทะเล 
 มีดินน้ำมัน = ทำเป็นเรือ 
 มีเหรียญ = เป็นสินค้า
และให้เด็กลองคิดกันว่า จะทำอย่างไรให้เรือบรรทุกสินค้าได้มากที่สุดโดยไม่จมลงไป โดยใส่เหรียญลงไปเรื่อยๆ จนเต็ม เมื่อเรือจม เป็นการฝึกให้เด็กคิดแก้ปัญหา และหาวิธีใหม่ในการทำให้เรือบรรทุกสินค้าได้มากโดยไม่จม  คุณครูได้เพิ่มวัสดุเข้ามา คือ หลอด แล้วให้หาวิธีใหม่ เด็กใช้หลอดในการวางบนน้ำและวางเรือลง เมื่อใส่เหรียญจึงทำให้เรือไม่จม 
ตัวอย่างการสอน เช่น หน่วยผลไม้
ขั้นที่ 1 ให้เด็กๆออกแบบตะกร้าใส่ผลไม้
ขั้นที่ 2 ให้เด็กๆ ทำตามแบบที่ออกแบบ
ขั้นที่ 3 ลองเอาผลไม้ใส่ตะกร้าที่ออกแบบ หากใส่ได้ไม่หมด ก็ออกหาวิธีการทำใหม่


สรุปวิธีการสอนแบบ STEM
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา
ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา  
ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา                   
ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา  
ขั้นที่ 5  ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขปัญหา 
ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือ ชิ้นงาน


➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
       - ตั้งใจนำเสนอ แต่อาจจะบกพร่องในการทำงาน การจัดเตรียมการนำเสนอให้ดีกว่านี้ นำคำที่อาจารย์สอนหรือแนะนำมาใช้
    
Evalaute frieads (เพื่อน)
     - มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และเพื่อนๆบางกลุ่มออกมานำเสนอได้ดีมาก

Evalaute teacher (อาจารย์)
     - อาจารย์พยายามฝึกให้นักศึกษาสอนเป็น และเข้าใจวิธีการสอนแบบลึกซึ้ง 


วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.


➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
    ❤ การอสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
อาจารย์ให้ตัวแทนนักศึกษาออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในหน่วยที่ตนเองรับผิดชอบ ให้ดูและอาจารย์จะได้ปรับแก้ไขให้วิธีการสอนต่างๆ ให้ดีมากขึ้น

กิจกรรมพื้นฐาน

⛳ จังหวะการเคาะ มี 2แบบ 
1. เคาะจังหวะปกติ ➡️ เคาะจังหวะช้า ➡️ เคาะจังหวะเร็ว ➡️ เคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน (หยุดเคลื่อนไหว)
2. เคาะ 1 ครั้ง  ➡️ เคาะ 2 ครั้ง ➡️ เคาะ 3 ครั้ง ➡️ เคาะจังหวะเร็ว ➡️ เคาะจังหวะ 2 ครั้งติดกัน (หยุดเคลื่อนไหว)






The teacher commented  สอนการเคลื่อนไหวหน่วย ประโยชน์ของช้าง 
อาจารย์ให้พูดให้สั้นกระชับและเข้าใจง่าย 
ขั้นพื้นฐาน  - ให้เด็กๆ เป็นช้างเดินตามจังหวะที่คุณครูเคาะไปรอบๆห้อง
                   - จากนั้นบอกสัญญาณกับเด็กๆ จังหวะช้า  เร็ว และ 2 ครั้งติดกัน (ให้เด็กเป็นช้างตามจังหวะ)
 ขั้นสัมพันธ์เพื้อหา  - ทำตามขั้นตอนการสอนตามแผนการสอน การจับคู่ประโยชน์ของช้าง
 อาจจะเพิ่มคำพูด เพื่อเน้นให้เด็กๆตั้งใจฟังจังหวะ เช่น เด็กๆ คอยฟังจังหวะนะคะ ถ้าคุณครูเคาะเร็ว ช้า และ เมื่อครูเคาะ 2 ครั้งติดกันเมื่อไหร่ ให้เด็กๆหาคู่ของตัวเอง แล้วนั่งลงทันที



The teacher commented  สอนการเคลื่อนไหวหน่วย  หน้าที่ของฉันในบ้าน
การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง  กำหนดมุมต่างๆ
- การพูดให้สั้นกระชับ
- การกำหนดมุม 4 มุม ให้ชัดเจน
- การพูด เมื่อให้เด็กทำตามข้อตกลง ให้เด็กกระโดดไปทำกิจกรรม ( ทำอาหาร / ซักผ้า / กวาดบ้าน /รดน้ำต้นไม้ ) แทนการกระโดดไปเข้ามุม 



📷 วิดีโอคลิปการสอน 📷 
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วย บ้านของฉัน  การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
โดยกำหนดให้เด็กทำท่าทางให้ตรงกับภาพสิ่งที่อยู๋ในบ้าน



➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
       - เข้าเรียนตรงเวลา จดบันทึกและตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์ เพื่อนำมาปรับใช้ในการสอน ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ 
    
Evalaute frieads (เพื่อน)
     - มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และตั้งใจฟังที่อาจารย์คอมเมนต์เพื่อน

Evalaute teacher (อาจารย์)
     - มีการเตรียมการสอนที่ดี สอนให้นักศึกษาคิดและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสอนให้นักศึกษาสอนเป็นและลงมือปฏิบัติได้



วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

Record song


เพลง สวัสดีคุณครู


เพลง ไปโรงเรียน


เพลง อาหาร


เพลง 1 ปี มี 12 เดือน


เพลง ล้างมือ


เพลง แปรงฟัน


เพลง มากินข้าวสิ


เพลง สวดมนต์

เพลง ลาก่อน


วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.


➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
     ➧ สมรรถนะ ( Competency ) หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลนั้น ๆ สามารถปฏิบัติงานได้ผลโดดเด่นกว่าคนอื่น และแสดงออกทางคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมทั้งด้าน  ความรู้ ทักษะ และเทคนิควิธีที่ดีกว่าคนอื่น ๆ
     ➧สมรรถนะที่เด็กปฐมวัยควรมี คือ การพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม ทั้งความสามารถในการเคลื่อนไหว และสุขภาวะทางกาย พัฒนาการด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านการคิด และสติปัญญา 
ด้านภาษา ด้านจริยธรรม และด้านการสร้างสรรค์ของเด็ก
     ➧ สภาพที่พึงประสงค์ มีตัวย่อยคือตัวชี้วัด แต่ละตัวชีวัดคือสมรรถนะที่เด็กจะได้รับ ในการพัฒนาร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา

กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
ประสบการณ์สำคัญ 
1. ด้านร่างกาย  : (ความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะกับกล้ามเนื้อ)  มี 2 รูปแบบ 
                         - การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น เต้นอยู่กับที่  
                         - การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  
เช่น   เดิน วิ่ง กระโดด สไลด์ สคิป  ⇨  การเคลื่อนไหวพื้นฐาน 
2.ด้านอารมณ์-จิตใจ : การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง ดนตรี
3.ด้านสังคม : การทำงานร่วมกับผู้อื่น การมีปฏิสัมพันธ์กัน
4.ด้านสติปัญญา : การคิดสร้างสรรค์ การจำ
   
 
   ➧ เป้าหมายของการเคลื่อนไหวและจังหวะ  คือ  วิธีการสอน  ได้แก่  การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย การเคลื่อนไหวประกอบเพลง การเคลื่อนไหวพร้มวัสดุอุปกรณ์ การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง   
การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง และการเคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม
       การจัดกลุ่มใหญ่/กลุ่มย่อย เพื่อพัฒนาเด็กในด้านสังคม ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กัน การพูดแสดงความคิดเห็น การแสดงท่าทางต่างๆ

   

   กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สามารถบูรณาการวิชาต่างๆ ได้มากมาย เช่น
สั่งให้เด็กๆ หาพื้นที่อย่างอิสระของตนเอง (เป็นการบูรณาการวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องพื้นที่)
 เด็กๆได้ออกกำลังกายและมีเหงื่อ (เป็นการบูรณาการวิชาวิทยาศาสตร์)  เป็นต้น

👩 การปฏิบัติงานในห้องเรียน : อาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ตามหน่วยที่ได้ของตนเอง (ซึ่งจะนำไปสู่การเขียนแผนการสอน) โดยภายในกลุ่มต้องมีกิจกรรมที่ไม่ซ้ำกัน และออกมาทดลองสอนหน้าชั้นเรียน








🔺 งานที่ได้รับมอบหมาย  อาจารย์ให้นักศึกษาอัดคลิปสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะลงในบล็อกของตนเอง


➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
       - เข้าเรียนตรงเวลา ทำงานที่อาจารย์ได้รับมอบหมายให้ ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และจะนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์     
    
Evalaute frieads (เพื่อน)
     - มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม วางแผน ฟังคำอธิบายต่างๆที่อาจารย์สอน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน

Evalaute teacher (อาจารย์)
     - มีการเตรียมการสอนที่ดี สอนให้นักศึกษาคิดและตอบคำถามต่างๆ ให้มีความถูกต้อง

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
      MindMap สาระที่ควรรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

❤ สาระที่เด็กควรรู้ คือ ความรู้ Knowledge มี 4 เรื่อง
❤ ประสบการณ์ คือ การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา
1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 
   ได้แก่ ชื่อ เพศ ชื่อส่วนต่างๆของร่างกาย การดูแลตนเองเบื้องต้น การล้างมือ การขับถ่าย 
การรับประทานอาหาร การถอด/สวมใส่เสื้อผ้า การรักษาความปลอดภัย และการนอนหลับพักผ่อน
2.บุคคลและสถานที่
   ได้แก่ บุคคลใน/นอกครอบครัว การทักทาย การเล่นกับพี่น้อง สถานที่ต่างๆ ในชุมชน การเล่นที่สนามเด็กเล่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี
3.ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
   ได้แก่ สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำเล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ การเพาะปลูกอย่างง่าย 
4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
   ได้แก่ สิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น สี รูปร่าง รูปทรง ขนาด ผิวสัมผัส

  

💗 การเลือกเรื่องในการนำมาสอนเด็ก ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กและมีผลกระทบกับเด็ก

💚 การออกแบบการสอน ผู้สอนต้องคอยสังเกตเด็ก เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรม จึงจะประเมินผลได้
➤อาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่ม 5 คน ที่ได้แบ่งกันไว้ และได้พูดถึงเรื่องสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมี 4 สาระ อาจารย์แจกกระดาษบรู๊ฟให้กลุ่มละ 1 แผ่น เลือกสาระที่ควรเรียนรู้  และคิดหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน มีทั้งหมด 5 วัน 5 เรื่อง และนำเสนอ



สมาชิกในกลุ่มมีดังนี้

 
1. นางสาวรุ่งฤดี  โสดา
2. นางสาวชาณิศา  หุ้ยทั่น
3. นางสาวอรุณวดี  ศรีจันดา
4. นางสาวณัฐชา  บุญทอง
5. นางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้




สาระที่ควรรู้คือ 1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
หน่วยการเรียนรู้ สุขภาพดีเริ่มตันที่ตัวหนู
และได้แก้ไข เป็นหน่วยการเรียนรู้เรื่อง ตัวเรา

งานที่ได้รับมอบหมาย อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มแบ่งหัวข้อกัน ใน 1 - 5 เรื่อง และให้ทำ MindMap เพื่อสอนเป็นกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ได้แก่ 
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมสร้างสรรค์
3. กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. เกมการศึกษา 




สาระที่ควรรู้ ➤ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
หัวข้อหน่วยการเรียนรู้  บ้านของฉัน

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ : การเคลื่อนไหวตามข้อตกลงโดยครูกำหนดรูปภาพดังนี้ บ้านหลังที่ 1 บ้านหลังที่ 2 บ้านหลังที่ 3 สวนสัตว์ สถานีรถไฟ ตลาด ไปรษณีย์ แล้วให้เด็กๆเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะเมื่อได้ยินสัญญาณหยุด ให้เด็กๆวิ่งไปอยู่ที่รูปบ้านหลังที่ 1, 2, และ 3 ตามลำดับและบอกว่าบ้านแต่ละหลังอยู่ใกล้กับอะไร
2. กิจกรรมสร้างสรรค์ 1. วาดภาพบ้านในฝันด้วยสีเทียน 2. ปั้นแป้งโดว์เป็นบ้าน 3. พิมพ์ภาพไม้บล็อกต่อเติมเป็นบ้าน 4. ประดิษฐ์บ้านในฝันจากกล่องนม โดยจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ได้แก่กล่องนมกระดาษสีกาวขวดน้ำให้เด็กๆออกแบบสร้างบ้านลักษณะต่างๆตามจินตนาการ
3. กิจกรรมเสรี : ให้เด็กๆเล่นมุมบล็อก โดยสร้างบ้านจำลองที่มีห้องต่างๆภายในบ้าน
4.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูมีภาพบ้านลักษณะต่างๆ มาให้เด็กๆดูและพูดคุยเกี่ยวกับส่วนประกอบของบ้านว่ามีอะไรบ้าง
5. กิจกรรมกลางแจ้ง : ครูพาเด็กๆ เดินสำรวจวัสดุที่ใช้สร้างบ้านตามบริเวณใกล้ๆโรงเรียน
6. เกมการศึกษา : เล่นเกมจับคู่ภาพของใช้กับห้องต่างๆภายในบ้าน


         



➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
     - เข้าเรียนตรงเวลา
     - จดบันทึกในการเรียน
     - มีส่วนร่วมในการคิด และเขียนมายแมพ ในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย ได้คิดกิจกรรมต่างๆ 
    
Evalaute frieads (เพื่อน)
     - เข้าเรียนตรงเวลา
     - มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกันทำงาน

Evalaute teacher (อาจารย์)
     - อาจารย์สอนเรื่องที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนต่างๆ เช่นหากไปอยู่ ที่ภาคเหนือ ก็จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ใกล้ตัวเด็ก เพราะในแต่ละพื้นที่ต่างกัน 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.30 น. ➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ  ว...