วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ

 วันสุดท้ายชองการเรียนการสอน 

การสอบสอน ตามแผนการจัดประสบการณ์ 
กิจกรรมเสริมประสบการณ์

นางสาวเพ็ญประภา  บุญมา  หน่วย สัปรด 

คำแนำนำของอาจารย์
- การถามสัปรดว่ามีลักษณะอย่างไร ให้ถามแบบมีหลักชัดเจน เช่น สี  รสชาติ  กลิ่น  รูปทรง  พื้นผิว 
การขยายพันธ์  เป็นต้น
- การส่งสัปรดให้เด็กดู ใช้คำถามกับเด็กให้เด็กลองสัมผัส ว่าสัปรดมีลักษณะอย่างไร แล้วครูแกะสัปรดให้เด็กดูทีละส่วน และให้ชิมรสชาติ
- การทำบัตรภาพเป็นจิ๊กซอร์แยกเป็นส่วนต่างๆของสัปรด แล้วให้เด็กออกมาแปะภาพต่อกันจนสมบูรณ์
- ในการสอนส่วนประกอบ
เช่น ลักษณะแบบนี้เรียกว่าอะไร  อาจจะให้เด็กพูดตาม เช่น หน่อจุก  ตา เนื้อสัปรด

นางสาวอรอุมา  ศรีท้วม  หน่วยบ้านแสนสุข

คำแนำนำของอาจารย์
- การจัดลับดับการสอนไม่สอดคล้อง ให้พูดถึงในเพลง
- ถามให้สอดคล้อง เช่น สมาชิกในบ้านของเด็กๆมีใครกันบ้าง
- การสอนให้เป็นเรื่องๆ ไม่รวมกัน สอนวันละเรื่อง
- การทำผังกราฟฟิกให้ดูน่าสนใจ 
- หน้าที่กับการปฏิบัติตน คืออันเดียวกัน
- เปิดประสบการณ์สอนให้กับเด็ก เช่น มีภาพ ชาร์ตความรู้ต่างๆ 

นางสาวชานิศา  หุ้ยทั่น   หน่วย อาชีพ 

คำแนำนำของอาจารย์
- การเขียนแผน ขึ้นต้นให้ถูกต้อง
- ให้อ่านเพลงก่อนร้องให้เด็กฟัง
- ภาพที่เอามาควรเป็นอาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากเพลง เพื่อให้เด็กรู้ได้หลายอาชีพ
- การวางภาพให้วางจากขวาไปซ้าย (ตอนให้เด็กมาหยิบภาพ) เพราะให้ความสัมพันธ์ การอ่านหนังสือของเด็กจากขวาไปซ้าย 
- การทำผังกราฟฟิกในการเขียน
- บอกประโยชน์ของอาชีพต่างๆ ให้เด็กเห็นภาพ และความสำคัญของอาชีพ


นางสาวธิดาพร  ศึกชัย  หน่วย สัตว์ป่าสัตว์เลี้ยง

คำแนำนำของอาจารย์
- การเริ่มต้นขั้นนำด้วยนิทาน เรื่องต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน และต้องตีโจทย์นิทานได้
- การแยกประเภทสัตว์ตามที่อยู่อาศัย
- การถามให้เด็กบอกว่ามีสัตว์อะไรบ้างอยู่ในบ้าน / อยู่ในป่า
- มีชารต์บอกประโยชน์ของสัตว์เลี้ยง เช่นเลี้ยงไว้เพื่ออะไร


นางสาววรรณภา  ปรุงดี หน่วย วันสงกรานต์

คำแนำนำของอาจารย์
- การสอนเนื้อหาให้สอดคล้อง
- มีชาร์ตการเขียน และอุปกรณ์ในการเปิดประสบการณ์ให้กับเด็ก
- การมีิงค์ประกอบในสถานการณ์

นางสาวจีรนันท์  ไชยชาย  หน่วย ยานพาหนะ

คำแนำนำของอาจารย์
- การติดภาพ ต้องมีการเขียนกำกับหลังภาพ
- บอกประโยชน์ของยานพาหนะ
- การถามเด็กว่า เด็กๆเดินทางมาโรงเรียนด้วยอะไร
- มีภาพยานพาหะที่นอกเหนือจากที่มีปกติ เช่น แพ เจสกี  เป็นต้น
- บอกความเร็วของยานพาหะแต่ละประเภท เช่น ทางบกเร็วกว่าทางเรือ แต่ช้ากว่าทางอากาศ

นางสาวจุฬารัตน์ เปี่ยมวารี หน่วย วันลอยกระทง

คำแนำนำของอาจารย์
- ให้หาเพลงวันลอยกระทงสั้นๆมาสอน
- พูดถามเกี่ยวกับเพลง 
- มีภาพสิ่งที่ควรทำกับไม่ควรทำให้เห็นชัดเจน
- บอกลักษณะของกระทง

นายปฏิภาณ  จินดาดวง หน่วย ครอบครัว

คำแนำนำของอาจารย์
- การถามเด็ก เกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัว 
- การสอนผังครอบครัวให้เริ่มต้น จากที่ตัวฉันก่อน
- การใช้คำเรียกคนที่เกิดก่อน------คนที่เกิดหลัง------เรียกว่า------ เช่น 
คนที่เกิดหลังคุณแม่เป็นน้องคุณแม่เรียกว่า คุณน้า  ผู้ชายเรียกน้าชาย ผู้หญิงเรียก น้าหญิง
- อาจมีภาพชาร์ตเป็นครอบครัว เช่น ผู้หญิงในภาพเป็นน้องคุณพ่อ ชื่อเคส เรียกว่า น้าเคส

นางสาวปิยธิดา  ประเสริฐสังค์ หน่วย บ้านของเรา

คำแนำนำของอาจารย์
- เนื่องจากบ้านของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่าง โดยให้สอนแบบแบ่งพื้นที่ เป็นที่ต่างๆ และวัสดุอุปกรณ์ในบ้านที่ต่างกัน
- พื้นที่สำหรับนอน / เตียง / เบาะ
- พื้นที่ทำกับข้าว / หม้อ / กระทะ / เตา / แก๊ส
- พื้นที่อาบน้ำ / โอ่ง / อ่าง / ฝักบัว 
- แก้ไขเพลงให้เกี่ยวกับการแบ่งพื้นที่

นางสาวทิพยวิมล  นวลอ่อน หน่วย ข้าว

คำแนำนำของอาจารย์
- ก่อนแจกข้าว คือต้องสอนข้าวต่างๆก่อน
- ในคำคล้องจองพูดถึงข้าวอะไรบ้าง
- การแบ่งลักษณะ พันธ์ข้าว / ชนิดข้าว ( ให้เลือกสอนอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- การเขียนลักษณะของข้าว เช่น  ติดข้าวข้างหน้า เขียน (สี รูปทรง ขนาด / วาดประกอบ)

นางสาวพิมสุดา  จันทะพา หน่วย กล้วย

คำแนำนำของอาจารย์
- การแยกกล้วยออกจากกันถามเด็กว่ากล้วยอะไร
- การนับกล้วยทีละ 1 แล้วให้เด็กนำเลขมาติดกำกับ
- เปรียบเทียบจำนวนนับ 1 ต่อ 1
- ขั้นขยายประสบการณ์นำกล้วยที่เด็กไม่เคยเห็นมาให้เด็กดู

นางสาวสุพรรษา  มีอุส่า หน่วย ฤดูฝน

คำแนำนำของอาจารย์
- การสอนเพลง เรียงลำดับการอ่าน การร้องให้ถูกต้อง
- ถามเชื่อมโยงจากเพลง ในเพลงมีพูดถึงอะไรบ้าง
- ถามประสบการณ์เดิม เช่น เพลงฝน ถามว่าเด็กๆเคยเปรียกฝนมั้ย เปียกแล้วเป็นอย่างไร เป็นหวัดต้องทำอย่างไร 
- เปิดประสบการณ์เด็กโดย ขั้นตอนให้ความรู้ มีสื่ออุปกรณ์ เนื้อหาและภาพ 

นางสาว อริศา  กุนารบ หน่วย ธรรมชาติรอบตัว

คำแนำนำของอาจารย์
- หา Consep สิ่งมีชีวิตกับไม่มีชีวิต  เช่น  Consep ของสิ่งมีชีวิต คือ การเจริญเติบโต / การขยายพันธ์ / การหายใจ / การกินอาหาร / ต้องการที่อยู่
- ขั้นนำ  อาจจะหยิบของมา แล้วสรุปนิยาม
แล้วพาเด็กไปสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบๆโรงเรียน
- ขั้นสอน การใช้คำถามและแปะภาพ


ภาพบรรยากาศในการเรียน






➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
     ตั้งใจฟัง จดบันทึก แล้วนำไปปรับใช้ สรุปคำแนะนำเป็นความรู้ในการจัดประสบการณ์


Evalaute frieads (เพื่อน)
     เพื่อนๆสอนได้ดีและมีบางคนสอนไม่เข้าใจและพร้อมรับคำแนะนำ เนื้อหาน่าสนใจ หลากหลาย

Evalaute teacher (อาจารย์)
     อาจารย์ฟังและดูอย่างตั้งใจในขณะที่นักศึกษาสอนหากผิดพลาดตรงไหนอาจารย์จะไม่ปล่อยไปเลย จะช่วยปรับแก้ให้และให้นักศึกษาสอนและทำได้ด้วยตนเอง 

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
 วันจันทร์ ที่ 25  พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 
 เวลา 08.30 - 12.30 น. 

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้นักศึกษาออกมาสอบสอนทีละคน และนำแผนการจัดประสบการณ์ที่เตรียมมาส่งให้อาจารย์ดู

     การสอบสอน ตามแผนการจัดประสบการณ์ 
กิจกรรมเสริมประสบการณ์

ดิฉัน นางสาวณัฐชา  บุญทอง   หน่วย  ▶️ สัตว์โลกน่ารัก 

 

แผนการจัดประสบการณ์

สื่อ คำคล้องจอง

สื่อ ชาร์ต

ขั้นการสอน
- ขั้นนำ  ครูอ่านให้เด็กฟัง 1 รอบ  / ครูให้เด็กอ่านตามทีละวรรค / ครูร้องให้เด็กฟัง / เด็กร้องตามทีละวรรค / ครูและเด็กร้องพร้อมกัน
- ขั้นสอน ถามเด็กว่าจากเพลง สัตว์ชนิดใดบ้างที่เป็นสัตว์บก ? 
หลังจากนั้น ถามเด็กว่านอกจากในเพลง เด็กๆรู้จักสัตว์บกอะไรอีกบ้าง ?
- เปิดประสบการณ์ โดยการสอน เช่น มีภาพสัตว์ชนิดต่างๆ ให้เด็กดู ครูอธิบายว่าสัตว์แต่ละชนิด อาศัยอยู่บนบกหรือในน้ำ หายใจอย่างไร มีกี่ขา เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่าง 
- จากนั้นครูถามเด็กว่า สัตว์บกหมายถึงอะไร ครูและเด็กร่วมกันบอกและเขียนความหมาย
- จากนั้นครูถามเด็กว่าจากเพลง เด็กๆคิดว่าสัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์บก  ครูเขียน และให้เด็กออกมาติดภาพ จนครบ ครูถามเด็กต่อว่า แล้วนอกจากในเพลงมีสัตว์อะไรอีกบ้าง เด็กตอบ ครูเขียน และให้ออกมาติดภาพ จากนั้นครูทบทวน ให้เด็กอ่านตาม 

 คำแนะนำของอาจารย์
- ขั้นนำ  การร้องเพลงและทำนองที่ถูกต้อง
- ขั้นสอน ควรมีการขยายประสบการณ์ให้เด็กโดย มีภาพสัตว์ชนิดต่างๆ ให้ความรู้กับเด็ก



การสอนของเพื่อนๆ


นางสาวปริชดา  นิราศรพจรัส  หน่วย อาหารดีมีประโยชน์
คำแนะนำของอาจารย์
ให้แกะฉลากสินค้าออกและใช้กล่องแทนถุงใส่ของ


นางสาวปวีณา  พันธ์กุล  หน่วย สี
คำแนะนำของอาจารย์
ควรบอกที่มาของสีต่างๆ แทนการบอกให้เด็กจำ เช่น สีมาจากที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร 
สีเกิดจากแสงสีขาว มี 7 สี  ให้เปลี่ยนเพลงเพราะจากเพลงเป็นการสอนคำศัพท์มากกว่า


นางสาวอรุณวดี  ศรีจันดา  หน่วย ตัวเรา
คำแนะนำของอาจารย์
การเริ่มด้วยเพลง และสนทนาเนื้อหาเกี่ยวกับเพลง เขียนเพลงให้ถูกต้อง ในขั้นสอนควรถอดบัตรคำบางคำออกให้เด็กออกมาติด ไม่แกะออกทั้งหมด 


นางสาวรุ่งฤดี  โสดา  หน่วย ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์
คำแนะนำของอาจารย์
ฝึกการร้องเพลง และเลือกเพลงให้เข้ากับ Consep การสอน การพูดเชื่อมโยงเพลงกับเนื้อหา


นางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้  หน่วย อาหารหลัก 5 หมู่
คำแนะนำของอาจารย์
หาเพลงให้สั้นกว่านี้ ควรมีภาพมากกว่าตัวหนังสือ หลังจากที่ร้องเพลงควรสนทนาเนื้อหาในเพลง ส่วนชาร์ตที่เป็นอาหาร 5 หมู่ ควรทำชาร์ตเป็นอาหารแต่ละหมู่ เพื่อให้เด็กดูง่าย และควรถามเด็กว่าอาหารแต่ละหมู่ ได้แก่อะไรบ้าง มีประโยชน์อะไรบ้าง


นางสาววัชรา  ค้าสุกร  หน่วย ของเล่นของใช้
คำแนะนำของอาจารย์
หาเพลงที่เข้ากับเนื้อหาการสอน


นางสาวสุพรทิพย์  ดำขำ  หน่วย เรขาคณิต
คำแนะนำของอาจารย์
การสรุปให้เด็กได้ Consep หรือความคิดรวบยอด 


นางสาวอินทิรา  หมึกสี  หน่วย ผลไม้
คำแนะนำของอาจารย์
ให้แจกผลไม้ทีละชนิด ส้มก่อน แล้วแจกองุ่น การเรียงตารางเปรียบเทียบส้มกับองุ่นใหม่  คือ สี  รูปทรง  ผิวเปลือก กลิ่น  ตามด้วยรสชาติ  และปรับปรุงลายมือในการเขียน


นางสาวสุจณณา  พาพันธ์  หน่วย วันปีใหม่
คำแนะนำของอาจารย์
เพลงไม่สอดคล้องกับเนื้อหา การเชื่ยมโยงการสอนจากเพลงกับเนื้อหา ต้องมีConsep ไม่สอนรวมกันหลายๆเรื่อง ควรมีชาร์ตในการเขียนและให้เด็กได้มีส่วนร่วม


➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
     เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเตรียมการสอนมาอย่างดี รับฟังคำแนะนำของอาจารย์และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาด
Evalaute frieads (เพื่อน)
     เพื่อนๆหลายคนเตรียมการสอนได้ดี หลายคนก็ยังมีข้อบกพร่องที่แตกต่างกันไป 

Evalaute teacher (อาจารย์)
     อาจารย์ตั้งใจฟังนักศึกษาสอน แนะนำ และปรับแก้ให้ในสิ่งที่ยังขาดและควรเพิ่มเติม อาจารย์ให้ความรู้ปละประสบการณ์ได้ดี อธิบายให้เข้าใจ เน้นย้ำเพื่อให้นักศึกษาสอนได้อย่างมีคุณภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 18  พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
      กรวยแห่งการเรียนรู้ หรือ กรวยประสบการณ์
ของเอดการ์เดล คือ การเรียนรู้ที่เกิดผล
จากรูป
- อ่านอย่างเดียว 10 % 
- ฟัง 20 
- ดู   30 
- ดูและฟัง  50 
- พูด  70 
- พูดและทำ  90 

         กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่า ระยะยาวกว่า 

            คนเราจะจำได้ดีเมื่อลงมือกระทำ Active Learning ➝ กระบวนการทำงานของสมอง คือ เกิดการซึมซับ เมื่อสมองรับเอาข้อมูลไป เกิดการทับซ้อนระหว่างความรู้ใหม่ และความรู้เดิม และปรับโครงสร้างใหม่ ทำให้สมองเกิดความจำแล้วนำไปใช้งาน สอดคล้องกับการเรียนรู้ในทักษะ EF

     ⏩ ทักษะ EF
Executive Functions มีทั้งหมด 9 ด้าน 
1) Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) 
ความจำและประสบการณ์เชิงบวกส่งผลลให้เกิดการเรียนรู้
2) Inhibitory Control (ยั้งคิด ไตร่ตรอง) 
3) Shifting หรือ Cognitive Flexibility (ยืดหยุ่นความคิด) 
4) Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ)
5) Emotional Control (ควบคุมอารมณ์)
6) Self - Monitoring (ติดตาม ประเมินตนเอง) 
7) Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) 
8) Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ) 
9) Goal - Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย)

     ⏩การสอนที่สอดคล้องระหว่างทักษะ EF กับ ไฮสโคป
   
1. ความจำ เพื่อใช้งาน  การมีสื่อที่หลากหลายโดยครูเป็นผู้กระตุ้นและเตรียมการ
2. คิดไตรตรอง   การวางแผน Plan
3. คิดยืดหยุ่น    กิจกรรมกลุ่มใหญ่ - กลุ่มย่อย เล่นตามมุม
4. จดจ่อใส่ใจ    การลงมือทำกิจกรรม Do
5. ควบคุมอารมณ์    การมีปฏิสัมพันธ์กันในกิจวัตร / กิจกรรม
6. การประเมินตนเอง   การทบทวน หรือนำเสนองาน Reviwe
7. การริเริ่มลงมือทำ   การปฏิบัติ Do
8. การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ ➤ Plan
9. มุ่งเป้าหมาย    Plan  - Do -  Reviwe

        ⏩ หากเด็กแย่งของกัน ครูจะแก้ปัญหาเด็กแบบไฮสโคปได้อย่างไร
ครูต้องสงบนิ่งก่อน แล้วถามเด็กว่าเกิดอะไรขึ้น ถ้าเห็นว่ามีความอันตรายให้หยุดสิ่งนั้นก่อน ครูพูดให้เด็กรู้ว่าครูรับรู้ถึงความรู้สึกเขา ถามเด็ก และเสนอวิธีแก้ปัญหา


กิจกรรม เล่าสู่กันฟังเพลงเก็บเด็ก

เพลงนั่งตัวตรง 

นั่งตัวตรงๆ  ก้มหัวลง  ตบมือแปะ ครู ______  อยู่ไหน หันหน้าไปทางนั้นแหละ
( เติมชื่อครูหรือเด็ก เพลงปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม )

เพลงยายฉิม
ฝนตกหยิมๆ  ยายฉิมไปตลาด  มือซ้ายถือปลา  มือขวาถือผัก  พอถึงที่พักวางผักวางปลา
 ( ฝึกท่าทาง และไหวพริบ )

เพลง หลับตา
หลับตาเสีย  อ่อนเพลียทั้งวัน  นอนหลับแล้วฝันเห็นเทวดา 
มาร่าย มารำ งามขำโสภา  พอตื่นขึ้นมาเทวดาไม่มี
 ( ฝึกสมาธิและให้เด็กสงบนิ่ง )


➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
     แต่งกายสุภาพเรียบร้อย จดบันทึกในขณะที่ฟัง ได้เรียนรู้กระบวนการสอนและทักษะการแต่งเพลง

Evalaute frieads (เพื่อน)
    เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ร้องเพลงเพราะ และนำเพลงใหม่ๆมาแลกเปลี่ยนกัน
   
Evalaute teacher (อาจารย์)
    อาจารย์สอนเน้นการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และให้นักศึกษารู้จักคิดเป็น สอนเป็น 

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 11  พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ

 กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก 
      สมองซึมซับ → รับรู้สิ่งต่างๆ  เกิดการทับซ้อนระหว่างความรู้ใหม่ + ความรู้เดิม (ทำให้ปลายประสาทมีความต่อเนื่องกัน) →  เกิดความรู้ใหม่ New knowledge →  มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 

กิจกรรมศิลปะ มี 2 แบบ คือ 
→ พื้นฐาน  คือ มีขั้นตอนการทำน้อย 1 หรือ 2 ขั้นตอน
→ พิเศษ   คือ มีขั้นตอนการทำหลายขั้นตอน


กิจกรรมศิลปะควรจัดให้คู่กับเสรี
1. ครูไม่ควรเร่งเด็กให้ทำกิจกรรมให้เสร็จอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการสะกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2. การเล่นของเด็ก คือ วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
3. เพียเจต์ กล่าวว่า การเล่นควรมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

การจัดมุม 5 มุม ได้แก่ 
1. มุมศิลปะ
2. มุมภาษา (หนังสือ)
3. มุมบล็อก
4. มุมของเล่น
5. มุมบทบาทสมมติ

การจัดพื้นที่ 5 ส่วน ตามแนวไฮสโคป
1. พื้นที่ของครู
2. พื้นที่เก็บของส่วนตัวเด็ก
3. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มใหญ่
4. พื้นที่กิจกรรมกลุ่มย่อย
5. มุมประสบการณ์

การจัดสภาพแวดล้อมตามแนวไฮสโคป
     เน้นพื้นที่จัดเก็บ หยิบจับง่าย โดยครูจัดทำข้อตกลง หรือจัดสภาพแวดล้อมในการเก็บของเล่นให้เหมาะสมชัดเจน ให้สภาพแวดล้อมเปรียบเสมือนครูของเด็กในเวลาเดียวกัน เช่น มัสัญลักษณ์ เครื่องหมาย ป้าย ภาพ หน้าภาชนะที่เก็บ หรือชั้นต่างๆตามมุมประสบการณ์ เพราะการเก็บของเล่นเป็นการเรียนอย่างหนึ่งของเด็ก
♥️♥️ ครูตามแนวไฮสโคป คือ กระตุ้น ส่งเสริม แต่ไม่แทรกแซง  ♥️♥️



 การดึงความจำไปใช้งาน  เรียกว่า  Working Memory 
     เป็นหนึ่งในทักษะของ EF เมื่อรู้การทำงานของสมองนำมาจัดตามช่วงวัยได้เหมาะสมที่กำหนดให้หลักสูตรมีสภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งนำมาจากพัฒนาการเด็กหากเราจะวัดได้นั้นต้องแปลพัฒนาการออกมาเป็นพฤติกรรม  
ทักษะ EF - จำนำไปใช้
                - การคิดยืดหยุ่น

กิจกรรม ฝึกทักษะการฟังโดยใช้จังหวะเพลง คือ การดึงความจำไปใช้งาน  เรียกว่า  Working Memory 


อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 2 กลุ่มเป็นวงกลม 2 วง แล้วมีเพลงให้จังหวะพร้อมกัน มีตัวแทนออกมายืนกลางวงกลม 1 คน เดินตามจังหวะเพลงเมื่อเพลงหยุดให้หยุดเดินแล้วอยู่ตรงหน้าเพื่อน คนที่เพื่อนเลือกหยุด จะต้องทำท่าทางให้คนในวงทำตาม และจับไหล่เพื่อนต่อแถวเพื่อเดินไปหาคนต่อไป ตามจังหวะที่หยุด จนคนในวงนั้นหมด กลุ่มไหนหมดก่อนจะชนะ

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน



➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
      แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ได้สืบค้นข้อมูลในเรื่องที่สงสัยและยังไม่เข้าใจ จดบันทึกความรู้ที่อาจารย์สอน

Evalaute frieads (เพื่อน)
    แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา จดบันทึกและตอบแสดงความคิดเห็น
   
Evalaute teacher (อาจารย์)
     อาจารย์ให้นักศึกษาช่วยกันสืบค้นข้อมูล และใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการเรียน


วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562
เวลา 08.30 - 12.30 น.

➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้อาจารย์ได้เชิญ ผศ.ดร.กรรณิการ์  สุสม มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้เรื่อง...สารนิทัศน์ 
และความรู้เกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รวมถึงเทคนิคในการใช้เพลงต่างๆ
👋  ก่อนเริ่มกิจกรรม
      อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนความคิดเห็น ในหัวข้อ " ครูที่ดีในความคิดของตนเอง ? " 
ในความคิดของฉัน ครูที่ดีต้อง
- ใจดี มีเมตตาต่อศิษย์
- มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และทักษะต่างๆ
- มีความยุติธรรม

   

รู้หรือไม่ว่า ? ผังกราฟฟิก คือ สารนิทัศน์แบบหนึ่ง ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ

▶️ ความหมายของสารนิทัศน์   การเก็บหลักฐานข้อมูล ร่องรอยการทำงานของครู การเรียนรู้ของเด็ก เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ครูใช้เป็นเครื่องมือในการนำมาคิดไตร่ตรอง สะท้อนการคิด นำมาพัฒนาตนเองและนักเรียน
▶️ คุณค่าและความสำคัญ 
1. สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
2. สามารถสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง ( การให้เด็กลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 )
3. ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
5. เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
6. ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนของครูและบทบาทของครู 

สารนิทัศน์จะสะท้อนการพูดของเด็กไม่เหมือนกัน ครูมีหน้าที่จัดกิจกรรมให้เด็กแสดงศักยภาพออกมา

▶️  สมรรถนะและศักยภาพ แตกต่างกัน
สมรรถนะ คือ Can do เด็กสามารถทำได้
ศักยภาพ คือ ความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวเด็ก ครูคือผู้กระตุ้น

▶️ รูปแบบการไตร่ตรองสารนิทัศน์  ( บุษบง ตันติวงศ์ )
1. หลักฐานการเรียนรู้ของเด็ก 
- แบบภาพรวม 
- แบบรายบุคคล เช่น ผลงานเด็ก บันทึกคำพูด ตารางพัฒนาการ
2. หลักฐานการสอนของครู

▶️ กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาครูโดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
1. ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
2. การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ
3. ทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงวางแผน
4. การปฏิบัติสะท้อนความรู้ความเข้าใจ

▶️ กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตรตรองสารนิทัศน์
1. การเก็บรวบรวมหลักฐาน
2. แบบไตร่ตรองสะท้อนความคิด
3. การนำเสนอความก้าวหน้าในการเรียนรู้
4. การประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่

▶️ ประเภทของสารนิทัศน์
1. บทสรุปโครงการ มี 3 ระยะ (โปรเจกต์แอพโพส)
2. การสังเกตพัฒนาการเด็ก บันทึกพฤติกรรม (บันทึกสั้น)
3. พอร์ตฟอลิโอ ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการ
4. ผลงานเด็ก
     - รายบุคคล เช่น วาดภาพ
     - แบบกลุ่มใหญ่ 
5. การสะท้อนตนเอง






👋กิจกรรมเขียนสารนิทัศน์สะท้อนตนเอง
การเขียนสารนิทัศน์ คือ การส่งเสริมการคิดที่หลากหลาย










▶️ หลักการเขียนสารนิทัศน์ (สรุปได้ด้วยตนเอง) ดังนี้
- เขียนให้มีเนื้อหาครอบคลุม ใคร ทำอะไร ที่ไหน 
- มีจุดเริ่มต้นของการเขียน และสามารถขยายเนื้อหาต่อได้
- มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความรู้ สาระที่ได้รับ การทดลองสอน การยกตัวอย่าง และประสบการณ์ที่ได้รับ
- เขียนเป็นความเรียง ไม่เขียนเป็นข้อ
- บอกถึงความรู้สึกนึกคิด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
- บอกคุณค่า ประโยชน์และการนำไปใช้


▶️ บทบาทครูกับการจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด 
1. ใช้จิตวิทยา เช่น ให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดของเด็ก เข้าใจเด็กเป็นรายบุคคล มีความจริงใจต่อเด็ก ควรชมเชยเด็ก
2.  การคิดริเริ่มการจัดกิจกรรม เช่น ให้เด็กสังเกต ให้เด็กเล่นตามความสนใจ จัดกิจกรรมทางภาษา ศึกษานอกสถานที่
3.  การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก เช่น การทำงานร่วมกับเด็ก ทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก
4.  การใช้คำถามกับเด็ก 
     4.1 คำถามใช้ความคิดพื้นฐาน เช่น สังเกต บอกความหมาย ถามความจำ
     4.2 คำถามขยายความคิด เช่น ถามให้อธิบาย เปรียบเทียบ จำแนก 
ยกตัวอย่าง  ให้สรุป ให้ประเมินหรือตัดสินใจ 


▶️ ประเภทของทักษะการคิด  4 คิด
1. ทักษะการคิดพื้นฐาน หมายถึงทักษะการคิดสื่อความหมาย เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน
2. ทักษะการคิดทั่วไป / รวบยอด ได้แก่ การสังเกต จำแนกความแตกต่าง  หาลักษณะร่วม ระบุข้อความคิดรวบยอด การทดสอบก่อนนำไปใช้
3. ทักษะการคิดระดับสูง ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคาดคะเน พยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน และการประยุกต์ใช้ความรู้
4. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ การเตรียมข้อมูล การเปิดตัว (ข้อมูลมาก) การเรียบเรียงความคิดต่างๆ การเลือกภาพหรือวิธีคิดแปลกใหม่

📎ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ➡️ คิดริเริ่ม ➡️ คิดยืดหยุ่น  
➡️ คิดคล่องแคล่ว ➡️ คิดละเอียดลออ 


พัฒนาการ การเล่นบล็อกของเด็ก มี 7 ขั้น
1. สำรวจ ถือไปมา  (2 - 3 ปี)
2. ใช้ไม้บล็อกต่อเป้นแนวตั้ง/ แนวนอน (3 ปี)
3. ต่อสะพาน (3 - 4 ปี)
4. ล้อมปิดกั้น (4 ปี)
5. สมมาตร (4 ปี)
6. สร้างสิ่งต่างๆ ให้ชื่อสิ่งที่สร้าง (4 - 5 ปี)
7. สร้างและเล่นบทบาทสมมติ เล่นร่วมกับเพื่อน ตัดสินใจว่าจะสร้างสิ่งใด มักสร้างสิ่งที่ตนเองคุ้นเคย 
(5 -6 ปี)

พัฒนาการการใช้กรรไกรของเด็ก
1. ตัดทีละนิด (2 - 3 ปี)
2. ตัด (3 ปี) บังคับกล้ามเนื้อมือ ตัดกระดาษขาดจากกันได้
3. ตัดตามแนวเส้น (3 - 4 ปี)
4. ตัดเส้นซิกแซก เส้นโค้ง (4 - 5) ปี ตัดซิกแซก คดโค้ง วงกลมได้
5. ตัดภาพ (5 - 6 ปี) ตัดภาพจากนิตยสาร ตามโครงร่างได้ อาจจะตัดหยุด - ตัดหยุด

👋 เทคนิคการใช้เพลง
- การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก เช่น สบสายตา  วาจาสร้างสรรค์
- เป็นการสื่อสารเชิงบวก

- เป็นการเตรียมพร้มก่อนเข้าบทเรียน

















➤ Assessment การประเมิน

Self-assessment (ตนเอง)
    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีเป้าหมายในการเรียนและมีความเข้าใจในการเรียนสารนิทัศน์มากขึ้น ได้รู้จักการนำไปใช้ในการทำโปรเจกต์ และเทคนิคต่างๆ

Evalaute frieads (เพื่อน)
   เพื่อนมาเรียนไม่ครบ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ดี สนุกสนานเฮฮา มีความคิดหลากหลาย เพื่อนๆนำเสนอได้ดีและกล้าแสดงออก 

Evalaute teacher (อาจารย์)
    อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษาในการให้ความรู้เรื่องที่นักศึกษายังไม่เข้าใจและขาดตกบกพร่อง และให้ความสำคัญกับนักศึกษาเมื่อถึงเวลาออกฝึกสังเกต หรือฝึกสอน เพื่อนำไปใช้และมีความสามารถที่ไม่แพ้ใคร


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันจันทร์ ที่  28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 - 12.30 น. ➤ The Knowledge ความรู้ที่ได้รับ  ว...